ต้นโศก ดอกแก้ว

สมุดบันทึกของคน คนหนึ่งที่เกิดมาบนโลกใบนี้

คำขวัญวันเด็ก สะท้อนความต้องการของสังคมไทย

สังคมไทยต้องการอะไร สังเกตได้จากคำขวัญวันเด็ก จริงๆแล้วคำขวัญเหล่านี้ น่าจะเป็นของขวัญที่เหล่าบรรดาผู้ใหญ่ทั้งหลายมอบให้กับเยาวชนซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติมากกว่า คำขวัญวันเด็กในแต่ละปีบ่งบอกอะไรหลายๆอย่างในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม ความต้องการในการพัฒนาสังคม แต่คำขวัญเหล่านี้ มีขึ้นมาให้เด็กท่องจำช่วงวันเด็กเท่านั้นเองหรือ จริงๆแล้ว สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่กระทำเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชน แต่หากคำขวัญเหล่านี้เพียงแค่ให้เด็กท่องจำช่วงวันเด็กหรือนำไปปฏิบัติปีต่อปี เมืองไทยก็คงต้องเป็นประเทศกำลังพัฒนาต่อไป

คำขวัญวันเด็กปี ๒๕๕๔ : รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ

ทั้ง ๓ ด้านนี้มีความสำคัญกับเด็กๆในภาวะปัจจุบันมาก
“รอบคอบ” ปัจจุบันมีทางเลือกที่จะรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อใหม่ต่าง ๆ
ต้องรู้รอบด้าน ไม่เป็นเหยื่อรู้เท่าไม่ถึงการณ์จนเกิดปัญหาแก่ตนเองและสังคม
“รู้คิด” เรียนรู้รอบด้านแล้วต้องรู้จักคิดใช้ชีวิตอย่างมีสติไม่ประมาท
ผมจึงอยากให้น้องๆเด็กๆรู้จักคิดให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น
“จิตสาธารณะ” สังคมต้องพึ่งพิงกันเห็นได้ในยามมีภัยคนไทยเราช่วยกัน
การปลูกฝังจิดสำนึกเช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมเริ่มที่น้องๆเยาวชน  (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี)

มกราคม 7, 2011 Posted by | เกิดอะไรขึ้นกับ คนไทย | ใส่ความเห็น

ให้อย่างเป็นสุข ทำอย่างเป็นสุข

บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินว่า ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก แต่ก็ไม่เสมอไปหรอกที่ผู้ให้จะเป็นที่รัก หากผู้รับไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้รับนั้น  แต่จง ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อย่าหวังแม้แต่จะเป็นที่รัก! แต่จงให้ เพราะ่ ๐ ใจอยากให้  ๐ให้แล้วเราเป็นสุข ตัวเองไม่เดือนเนื้อร้อนใจ  ๐ ให้แล้วผู้รับเป็นสุข แต่หากให้แล้วฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นทุกข์ก็อย่าให้ เก็บเอาไว้ให้กับคนที่อยากได้รับและเห็นคุณค่า แล้วสิ่งที่ให้จะมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นแม้สิ่งนั้นจะไม่มีราคาค่างวดก็ตามที

ให้รอยยิ้ม ให้กำลังใจ ให้อภัย ไม่ได้เป็นสิ่งของ จงให้ไปทุกๆคนเถิด ไม่ว่าผู้รับจะยินดีหรือไม่ก็ตามแต่อย่างน้อย ผู้ให้ก็เป็นสุขใจ ผู้รับจะยินดีหรือไม่ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้เค้าเดือดเนื้อร้อนใจแน่นอน

และจงพึงสังวรณ์ไว้เสมอว่า ตัวเรานั้นไม่สามารถที่จะเป็นผู้ให้ได้ตลอดไปหรอก เพราะมนุษย์ปุถุชนธรรมดาอย่างเรา ก็มีความเห็นแก่ตัวติดตัวกันมาทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น คนเราเกิดมาก็ไม่ได้มีอะไรติดตัวมาสักอย่าง อะไรๆก็ไม่ใช่ของเราทั้งสิ้นจะหยิบนั่นให้นี่ ก็ล้วนแล้วแต่ไม่ใช่ของเราทั้งสิ้น

สิ่งที่ได้มา หากให้เค้าไปแล้วมีความสุขก็ให้ไปเถิด… อย่าหวังสิ่งใดทั้งปวง แค่ให้แล้วเป็นสุขก็ให้… เท่านั้น อย่าหวังอะไรทั้งสิ้นทั้งปวง… และในรูปแบบเดียวกัน  อะไรที่ตนทำแล้วเป็นสุขก็ทำเถิด อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อนหรือเป็นทุกข์

คนสำคัญที่เราจะให้และทำให้เป็นอันดับแรก คือ คนที่รักเรา นั่นหมายถึง การกตัญญูรู้คุณ การที่เราได้ทำได้ให้กับคนที่รักเราย่อมเป็นสุขทั้งผู้ให้และผู้รับอย่างแน่นอน

ให้แล้วเป็นสุขก็ให้ ทำแล้วเป็นสุขก็ทำ พร้อมที่จะให้และทำโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ… ไม่คิดว่าจะมีสิ่งใดได้คืนกลับมา… แต่ถ้าไม่พร้อมที่จะให้ ไม่พร้อมที่จะทำ อย่าให้ อย่าทำ!

มกราคม 7, 2011 Posted by | เขียน แก้กลุ้ม… เล่า แก้เซ็ง… | | ใส่ความเห็น

สุดมือสอย ก็ “ปล่อยมันไป”

………………ไม่มีใครทำให้คนทุกคนรักเราได้…………………
…….อาจจะมีคนชอบในตัวเรา10คน แต่ก็มีคนเกลียดเรา100คน……..
……………แคร์คนที่แคร์เรา ไม่แคร์คนที่ไม่แคร์เรา…………..
…………..มีมิตรแท้เพียงหนึ่ง ดีกว่ามีเพื่อนกินเป็น100………….


สุดมือสอยก็ปล่อยมันไป
เมื่อคุณชี้แจงไปแล้ว เขาก็ควรจะยอมรับฟัง แต่เมื่อเขาไม่ฟัง และคุณก็ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุดไปแล้ว ก็คงต้อง
ปล่อยมันไป
ในโลกนี้ มีเรื่องอะไรต่อมิอะไรหลายอย่างที่เราไม่สามารถให้เวลากับมัน หรือไม่สามารถทำในสิ่งนั้นให้ดีที่สุด
แต่แล้วเราก็ต้องปล่อยให้สิ่งเหล่านั้นผ่านไป เพราะหากเรามัว แต่จะนับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเวลาของคุณคงไม่พอเป็นแน่
(
มีความหมายว่า จะพยายามทำให้คนทั้งโลกรู้ส ึกพอใจตัวเองในทุกเรื่อง)  
ดังนั้น
ทำอะไรก็ตาม ควรทำเท่าที่เราทำได้ เมื่อทำอย่างดีที่สุดแล้ว คนเขาไม่เห็นว่าดีก็ต้อง ปล่อยมันไป

เลือกทำในสิ่งที่เห็นว่า เราถนัดที่สุด และมีความสุขที่จะทำก็พอแล้ว

อะไรก็ตาม ที่เราไม่ถนัด หรือถึงถนัด…แต่ไม่มีความสุขที่จะทำ ก็อย่าทำ


เรามีเวลาไม่มากนักหรอกที่จะแบกสารพัดภาระในโลกนี้ ควรมองไหล่ของตัวเองดูสักหน่อยว่า พร้อมจะแบกเป้หลังที่มีน้ำหนักมากน้อยเพียงใด อย่าแบกอะไรที่เกินกำลังของตัวเองเพราะไม่เพียงแต่มันจะทำให้คุณเป็นทุกข์ แต่บางทีอาจมีผลต่อการยืนตรงๆ อย่างยาวนานของคุณด้วย

สิงหาคม 30, 2010 Posted by | Fw Mail: ลองเก็บไปคิด เพื่อชีวิตเป็นสุข | | 1 ความเห็น

จงจำใส่ใจ “อย่าตัดสินคนเพียงภายนอก”

จงจำใส่ใจ “อย่าตัดสินคนเพียงภายนอก”  หรือแม้แต่มองคนเพียงเปลือกนอก

สิ่งที่เห็นเพียงเปลือกนอกไม่สามารถบ่งบอกถึงจิตใจคนได้

ชายหนุ่มเดินตากแดดผิวดำไหม้เกรียม ใส่เพียงกางเกงยีนเก่าๆรุ่ยๆเพียงตัวเดียว

ลากรถเข็นซึ่งมีที่นอนเก่าๆ เหมือนกับจะเป็นคนข้างถนนเก็บขยะขายประมาณนั้น

แต่จริงๆแล้วเค้าลากรถเข็นตระเวนไปทั่ว เพื่อแสดงอะไรบางอย่างให้คนบนท้องที่ผ่านไปผ่านมาได้ดูกัน

ชีวิตเค้าไม่ต้องพิถีพิถันมาก ไม่มีพิธีรีตองอะไรทั้งสิ้น รถเข็นเก่าๆ วิทยุเก่าๆพอให้มีเสียงเพลงประกอบให้ครื้นเครง

อาชีพของเขาคือ mobile street performance รายได้ดีกว่าบางอาชีพเสียอีก

สิงหาคม 29, 2010 Posted by | บันทึก…ความคิด…สะดุดผุดขึ้นมาในสมอง…ณ เสี้ยวเวลาหนึ่ง | | ใส่ความเห็น

สิ่งมีชีวิต จะเล็กจะใหญ่ มันก็มีหนึ่งชีวิตเหมือนกับเรา

 

จะเอาอะไรมาวัดมาตัดสินว่า สิ่งมีชีวิต ชนิดไหนมีค่าชีวิตมากกว่ากัน

บางคนฆ่าเป็ดฆ่าไก่ กินเป็ดกินไก่ แต่ต่อต้านการฆ่าหมาฆ่าแมวที่คนอื่นกินแต่ตัวเองไม่ได้กิน

บางคนฆ่าวัวฆ่าควาย กินวัวกินควาย แต่ต่อต้านการฆ่าวาฬที่คนอื่นกินแต่ตัวเองไม่ได้กิน

จะว่าไปแล้วหนึ่งตัวมันก็หนึ่งชีวิตเหมือนกัน ไก่หนึ่งตัวก็หนึ่งชีวิต หมูหนึ่งตัวก็หนึ่งชีวิต

ลิงหนึ่งตัวก็หนึ่งชีวิต หมีหนึ่งตัวก็หนึ่งชีวิต แมลงหนึ่งตัวก็หนึ่งชีวิต สิงโตทะเลหนึ่งตัวก็หนึ่งชีวิต

จระเข้หนึ่งตัวก็หนึ่งชีวิต กุ้ง หอย ปูปลา เต่าและสัตว์อื่นๆ ต่างก็มีหนึ่งชีวิตเหมือนกันทั้งสิ้น

อาหารของมนุษย์(สัตว์ชนิดหนึ่งที่ขนานตัวเองว่า ประเสริฐกว่าสัตว์ชนิดอื่น) ก็มาจากการเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่นทั้งสิ้น

และก็ไม่มีอะไรผิดไปจากธรรมชาติหรอก เพราะสิ่งมีชีวิตอีกหลายๆชนิดที่ล่าชีวิตสัตว์อื่นเป็นอาหาร

แต่ความแตกต่างมันอยู่ที่หนึ่งชีวิตที่เราเบียดเบียนไปนั้นมันคุ้มค่าชีวิตของเขาแล้วหรือยัง

บางคนฆ่าวัวฆ่าควายกินกันทั้งหมู่บ้าน แต่ฆ่าลิงหนึ่งตัวกินแค่สมอง

บางคนฆ่าหมูฆ่าหมาใช้แม้กระทั่งกระดูก ฆ่าหมีหนึ่งตัวเพื่อแค่อุ้งตีนหมี

ต่างคนต่างเผ่าต่างพันธุ์ ก็เบียดเบียนชีวิตที่แตกต่างกันไปเพื่อให้มีอาหารในการดำรงชีวิต

และคงไม่ได้มีใครดีไปกว่าใครหรอก เพราะต่างก็เบียดเบียนชีวิตเหมือนกันทั้งนั้น

และสัตว์ทุกๆตัวทุกชีวิตก็มีความสำคัญเหมือนกันทั้งสิ้น มีชีวิต ต้องการการอยู่รอด

สิงหาคม 29, 2010 Posted by | บันทึก…ความคิด…สะดุดผุดขึ้นมาในสมอง…ณ เสี้ยวเวลาหนึ่ง | | ใส่ความเห็น

โครงการ “เมืองไทยน่าอยู่ 4”

จัดกิจกรรมอาสา…. สร้างเยาวชน สร้างชาติ สร้างเยาวชนให้มีคุณภาพ

ใช้ครูอาสาสมัครที่มีความสามารถ และจิตสำนึกที่ดีจัดกิจกรรมสร้างเยาวชนในวันหยุด
เพื่อให้เด็ก เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเีรียนรู้ประสบการณ์ชีวิต
ผู้เกี่ยวข้อง
๑. ครูอาสา มีจิตสำนึกและความสามารถ
๒. ผู้ปกครอง ให้ความร่วมมืัอและเห็นความสำคัญ
๓. เยาวชน แบ่งระดับความสามารถ การเรียนรู้
๔. หน่วยงานภาครัฐ และอื่นๆที่สนใจให้การสนับสนุน

สิงหาคม 17, 2010 Posted by | บันทึก…ความคิด…สะดุดผุดขึ้นมาในสมอง…ณ เสี้ยวเวลาหนึ่ง | | ใส่ความเห็น

ความเศร้า กับ ตราบาปในจิตใจ

ความเศร้าแค่อารมณ์ที่ปล่อยทิ้งไว้สักพักก็ค่อยๆเลือนลางจางหายไป

แต่ตราบาปของการกระทำที่พลาดพลั้งทำให้จิตใจเราไม่เป็นสุขมันยากที่จะลบเลือน
แม้กระทั่งวันสุดท้ายในชีวิตเราก็ไม่อาจจะลืมเลือนมันก็ได้
สุดท้ายแล้วมันอาจจะเป็นทุกข์ที่ถูกเก็บเอาไว้ แม้ว่าเราอยากที่จะปลดปล่อยมันออกไป
และมันจะเป็นตราบาปหรือลอยแผลเป็นที่อยากจะเอาอะไรมาลบเลือน
การใช้ชีวิตของคนเรา พยายามอย่ากระทำผิด อย่าพลาดในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เพราะมันจะเป็นตราบาปในใจเราไปจนวันตาย
ความเศร้า ดูหนังแล้วเศร้า แพ้การแข่งขันแล้วเศร้า เสียของรักแล้วเศร้า
ควาเศร้าเพียงแค่อารมณ์ชั่ววูบชั่วคราว เศร้าแล้วร้องไห้ จงร้องไห้ไปเถอะ
เพราะมันทางที่จะช่วยให้ความเศร้านั้นเลือนลางหายไปในที่สุด

สิงหาคม 17, 2010 Posted by | บันทึก…ความคิด…สะดุดผุดขึ้นมาในสมอง…ณ เสี้ยวเวลาหนึ่ง | | ใส่ความเห็น

แง่คิดดีๆ จากชายชราผู้จากไป

แง่คิดดีๆ จากชายชราผู้จากไป
โดยพิษณุ นิลกลัด

สัปดาห์สุดท้ายของปี 2548 ผมไปงานสวดและงานเผาศพผู้ชายวัย  81 ปีที่ผมรู้จักเขามายาวนาน 30 ปี ไม่ใช่ญาติ แต่สนิทนักรักใคร่เสมือนญาติ

ก่อนเสียชีวิตไม่กี่วันเขาสั่งลูกและภรรยาแบบคนไม่ครั่นคร้ามความตายว่า สวดสามวันแล้วเผา ไม่ต้องบอกใครให้วุ่นวาย  อย่าเศร้า อย่าร้องไห้ ทุกคนต้องมีวันนี้เพียงแต่เขาอยู่หัวแถวเลยต้องไปก่อน แล้วลูกเมียก็ทำตามคำสั่ง สวดสามวันเผา งานสวด 3 คืนมีคนฟังพระสวดคืนละ 14 คนคือเมีย ลูก  หลาน เขย สะใภ้ และผมซึ่งเป็นคนนอก

เป็นงานศพที่มีคนไปร่วมงานน้อยที่สุดเท่าที่ผมเคยไปฟังสวด วันเผามีเพิ่มเป็น 17 คน สามคนที่เพิ่มเป็นเพื่อนบ้านที่เคยคุยด้วยเกือบทุกเย็น คนหนึ่งเป็นแม่ค้าล็อตเตอรี่ที่เคยยืมเงินแล้วไม่มีสตังค์จ่าย เลยเอาล็อตเตอรี่ทยอยผ่อนใช้หนี้แทนเงินงวดละสองใบคนหนึ่ง และคนสุดท้ายเป็นหญิงที่ผู้ตายเคยผูกปิ่นโตทุกมื้อเย็น ทั้งสามคนบอกว่าเกือบมาไม่ทันเผา เคราะห์ดีที่แวะไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่บอกว่าเสียชีวิตไปแล้ว3 วัน


หลังฌาปนกิจพระกระซิบถามเจ้าหน้าที่วัดว่าเจ้าของงานจ่ายเงินค่าศาลาสวดพระอภิธรรมแล้วหรือยัง พระท่านคงไม่เคยเห็นงานศพที่มีคนน้อยแบบที่ผมก็รู้สึกตั้งแต่สวดคืนแรก จริงๆแล้วผู้ตายเป็นคนค่อนข้างมีสตังค์ ทำงานธนาคารแห่งประเทศไทยจนเกษียณอายุที่
ตำแหน่งหัวหน้าหน่วย แต่ด้วยความที่รักและศรัทธาอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์อดีตผู้ว่าการแบงค์ชาติ จึงดำเนินชีวิตแบบไม่ปรารถนาให้ใครเดือนร้อน –  แม้กระทั่งวันตาย

ผมสนิทกับเขาเพราะเขามีความฝันในวัยเด็กอยากเป็นนักประพันธ์แบบไม้เมืองเดิมที่เขาเคยนั่งเหลาดินสอและวิ่งซื้อโอเลี้ยงให้เมื่อตัวเองเป็นนักเขียนไม่ได้พอมาเจอะผมที่เป็นนักข่าวก็เลยถูกชะตาและให้ความเมตตา การมีโอกาสได้พูดได้คุยกับเขาตามวาระโอกาสตลอด 30 ปีทำให้ได้แง่คิดดีๆมาใช้ในการดำรงชีวิต วันหนึ่งเขารู้ว่าขโมยยกชุดกอล์ฟของผมไปสองชุดราคา  4 แสนกว่าบาท
เขาปลอบใจผมว่า ‘ของที่หายเป็นของฟุ่มเฟือยของเรา แต่มันอาจเป็นของจำเป็นสำหรับลูกเมียครอบครัวเขา คิดซะว่าได้ทำบุญ  จะได้ไม่ทุกข์’ เขามีวิธีคิด’เท่ๆ’แบบผมคิดไม่ได้มากมาย เป็นต้นว่าสุขและทุกข์อยู่รอบตัวเรา อยู่ที่ว่าเราจะเลือกหยิบเลือกคว้าอะไร คงเป็นเพราะเขาเลือกคว้าแต่ความสุข ช่วงปีสุดท้ายของชีวิตเขาต่อสู้กับโรคชรา เบาหวาน หัวใจ  ความดัน เกาต์ และไตทำงานเพียง 5 เปอร์เซ็นต์โดยไม่ปริปากบ่น แถมยังสามารถให้ลูกชายขับรถพาเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์โดยที่ตัวเองต้อง หิ้วถุงปัสสาวะไปด้วยตลอดเวลาเนื่องจากไตไม่ทำงาน  ปัสสาวะเองไม่ได้ 6 เดือนสุดท้ายของชีวิตต้องนอนโรงพยาบาลสามวันนอนบ้านสี่วันสลับกันไป

เวลาลูกหลาน หรือเพื่อนของลูกรวมทั้งผมด้วยไปเยี่ยมที่โรงพยาบาลเขามีแรงพูดติดต่อกันไม่เกิน 10 นาที แต่ 10 นาทีที่พูดมีแต่เรื่องสนุกสนานเรียกรอยยิ้มและเสียงหัวเราะจากคนไปเยี่ยมไข้ ทุกคนพูดตรงกันว่า ‘คุณตาไม่เห็นเหมือนคนป่วยเลย ตลกเหมือนเดิม’
พอแขกกลับ  ลูกหลานถามว่าทำไมคุยแต่เรื่องตลก เขาตอบว่า ‘ถ้าคุยแต่เรื่องเจ็บป่วย  วันหลังใครเขาจะอยากมาเยี่ยมอีก’ เขาเป็นคนชอบคุยกับผู้คนไม่ว่าจะอยู่บนเตียงคนไข้หรืออยู่บนรถแท็กซี่ บ่อยครั้งที่นั่งรถถึงหน้าบ้านแล้วแต่สั่งให้โชเฟอร์ขับวนรอบหมู่บ้านเพราะยังคุยไม่จบเรื่อง  แล้วจ่ายเงินตามมิเตอร์

4 เดือนสุดท้ายของชีวิตแพทย์ที่รักษาโรคไตมาตั้งแต่สมัยเป็นแพทย์อินเทิร์น จนกระทั่งเป็นหัวหน้าแผนกแนะนำให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลให้แข็งแรงแล้วค่อยกลับบ้านแต่อยู่ได้ 4 วันเขาวิงวอนหมอว่าขอกลับบ้าน หมอซึ่งรักษากันมา 16 ปีไม่ยอมเขาพูดกับหมอด้วยความสุภาพว่า ‘ขอให้ผมกลับบ้านเถอะ ผมอยากฟังเสียงนกร้อง คุณหมอไม่รู้หรอกว่าคนคิดถึงบ้านมันเป็นอย่างไร เพราะพอเสร็จงานหมอก็กลับบ้าน’ หมอได้ฟังแล้วหมดทางสู้ ยอมให้คนไข้กลับบ้าน แต่กำชับให้มาตรวจตรงตามเวลานัดทุกครั้ง

1 เดือนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตเขาสูญเสียการควบคุมอวัยวะของร่างกายเกือบทั้งหมด เคลื่อนไหวได้อย่างเดียวคือกะพริบตา แต่แพทย์บอกว่าสมองของเขายังดีมากเวลาลูกเมียพูดคุยด้วยต้องบอกว่า ‘ถ้าได้ยินพ่อกะพริบตาสองที’ เขากะพริบตาสองทีทุกครั้งเห็นแล้วทั้งดีใจและใจหายเขายังรับรู้  แต่พูดไม่ได้ นี่กระมังที่เรียกว่าถูกขังในร่างของตนเอง สิบวันก่อนพลัดพรากภรรยากระซิบข้างหูว่า ‘พ่อสู้นะ’ เขาไม่กะพริบตาซะแล้วทั้งๆ  ที่ก่อนหน้านี้สองเดือนเคยตอบว่า ‘สู้’ เขาสู้กับสารพัดโรคด้วยความเข้าใจโรค สู้ชนิดที่หมอออกปากว่า ‘คุณลุงแกสู้จริงๆ’ ตอนที่วางดอกไม้จันทน์ผมนึกถึงประโยคที่แกพูดกับลูกเมื่อสี่เดือนก่อนว่า ‘โรคภัยมันเอาร่างกายของพ่อไปแล้ว อย่าให้มันเอาใจของเราไปด้วย’ แง่คิดดีๆ จากชายชราที่จากไป’ สอนให้เรารู้ว่า…  เราเกิดมาพร้อมกับจิตใจบริสุทธิ์  และมันสมองมหัศจรรย์ ที่จะสามารถเรียนรู้ แยกแยะเรื่องดีๆและสิ่งร้ายๆในชีวิต  จงใช้โอกาสดีๆที่ร่างกายและจิตใจของเรา ยังทำอะไรๆได้อย่างที่สมองสั่ง จงเรียนรู้ และสร้างประโยชน์สุข ให้กับตนเองและผู้อื่นอย่างพอเพียง และดำรงชีวิตอย่างพอเพียงทางเศรษฐกิจ

หากทุกๆครั้งที่เรียนรู้ เราล้ม เราพลาด… อาจจะรู้สึกท้อบ้างในบางที แม้ไม่มีกำลังกายที่จะลุกในทันที แต่ข้อให้มีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป ถ้าเราเรียนรู้…ก็จะทำให้เราพบว่า การล้มหรือพลาดครั้งต่อไป เราจะไม่เจ็บเท่าเดิม 🙂

มิถุนายน 27, 2010 Posted by | Fw Mail: ลองเก็บไปคิด เพื่อชีวิตเป็นสุข | | 1 ความเห็น

การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น

การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (ภาษาญี่ปุ่น: 日本語能力試験, นิฮงโงะโนริโยะกุชิเกงภาษาอังกฤษ: Japanese Language Proficiency Test ตัวย่อ JLPT)



รูปแบบใหม่

ระดับ รายละเอียด ความสามารถทางภาษา
ข้อสอบ เวลา (นาที) คะแนน
N1 คำศัพท์ และไวยากรณ์ 110 60 สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในวงกว้างได้
(การอ่าน) – อ่านบทความ บทวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์ที่เขียนเกี่ยวกับหัวเรื่องต่าง ๆ ในวงกว้างหรือข้อความที่เป็นแนวตรรกะ มีความซับซ้อน มีความเป็นนามธรรมสูง แล้วสามารถเข้าใจโครงสร้างและเนื้อหาได้
– อ่านเรื่องที่มีหัวข้อหลากหลายและมีเนื้อหาลึกซึ้งแล้วสามารถเข้าใจลำดับเนื้อเรื่องและรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการสื่อในสำนวน
(การฟัง) – ฟังบทสนทนา ข่าว การบรรยายที่มีเรื่องราวในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีระดับความเร็วในการพูดที่เป็นธรรมชาติ แล้วสามารถเข้าใจลำดับเนื้อเรื่อง เนื้อหา ความสัมพันธ์ของบุคคลและโครงสร้างความเป็นมาของเนื้อหาอย่างละเอียดและจับประเด็นได้
การอ่าน 60
การฟัง 60 60
รวม 170 180
N2 คำศัพท์ และไวยากรณ์ 105 60 สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ชีวิตประจำวันได้ และสามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ในวงกว้างได้ในระดับหนึ่ง
(การอ่าน) – อ่านบทความที่มีประเด็นชัดเจนอย่างเช่น บทความในหนังสือพิมพ์หรือนิตรสารที่เขียนเกี่ยวกับหัวเรื่องต่าง ๆ ในวงกว้าง หรือคำอธิบายหรือบทวิจารณ์ง่าย ๆ และสามารถเข้าใจเนื้อหาของบทความได้
(การฟัง) – ฟังบทสนทนา ข่าว ที่มีเรื่องราวในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสถานการณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันโดยมีระดับความเร็วในการพูดที่เป็น ธรรมชาติ แล้วสามารถเข้าใจลำดับเนื้อเรื่อง เนื้อหา ความสัมพันธ์ของบุคคลและจับประเด็นได้
การอ่าน 60
การฟัง 50 60
รวม 155 180
N3 คำศัพท์ 30 60 สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ในระดับหนึ่ง
(การอ่าน) – อ่านบทความที่มีเนื้อหาเป็นรูปธรรมที่เป็นหัวเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน แล้วสามารถเข้าใจได้
– สามารถจับใจความคร่าว ๆ ของข้อมูลที่มาจากหัวข้อข่าว เป็นต้น
– หากให้ข้อความที่ใช้สำนวนอีกแบบหนึ่ง จะสามารถเข้าใจความสำคัญของข้อความที่พบเห็นในชีวิตประจำวันที่ค่อนข้างมีความยากได้
(การฟัง) – ฟังบทสนทนาที่เป็นเรื่องราวในชีวิตประจำวัน โดยมีระดับความเร็วในการพูดใกล้เคียงกับระดับธรรมชาติ แล้วสามารถพอจะเข้าใจเนื้อหารวมทั้งความสัมพันธ์ของบุคคลได้
การอ่านและไวยากรณ์ 70 60
การฟัง 40 60
รวม 140 180
N4 คำศัพท์ 30 120 สามารถเข้าใจพื้นฐานภาษาญี่ปุ่่น
การอ่านและไวยากรณ์ 60
การฟัง 35 60
รวม 125 180
N5 คำศัพท์ 25 120 สามารถเข้าใจพื้นฐานภาษาญี่ปุ่่นได้ในระดับหนึ่ง
การอ่านและไวยากรณ์ 50
การฟัง 30 60
รวม 105 180 

 


รูปแบบเดิม

ระดับ ไวยากรณ์ ความรู้ คันจิ คำศัพท์ ช.ม. เรียน การวัดผล
(ของคะแนนเต็มถือว่าสอบผ่าน)
1 ระดับสูง มีความรู้พื้นฐานพอที่จะใช้ภาษาในการใช้ชีวิตในสังคม การศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือเพื่อการวิจัย 2,000 ตัว 10,000 ตัว 900 ช.ม. 70 %
2 ระดับค่อนข้างสูง มีความสามารถที่จะใช้บทสนทนาทั่วไปได้ และสามารถอ่าน-เขียนได้ 1,000 ตัว 6,000 ตัว 600 ช.ม. 60 %
3 ระดับพื้นฐาน มีความสามารถที่จะใช้บทสนทนาในชีวิตประจำวันได้ และอ่าน-เขียนประโยคง่ายๆ ได้ 300 ตัว 1,500 ตัว 300 ช.ม. 60 %
4 ระดับต้น ใช้บทสนทนาง่ายๆ ได้ และอ่าน-เขียนประโยคง่ายๆได้ 100 ตัว 800 ตัว 150 ช.ม. 60 % 

 

พฤษภาคม 18, 2010 Posted by | ชีวิต สังคม วัฒนธรรมในญี่ปุ่น | | ใส่ความเห็น

การสวดมนต์

ตั้งนะโม ๓ จบ
สวดพุทธัง ธัมมัง สังฆัง
สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
สวดพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
สวดมหาการุณิโก
สวดพุทธคุณ อย่างเดียวเท่ากับอายุ บวก ๑ (อิติปิโสเท่าอายุ+๑)
แผ่เมตตา (สัพเพสัตตาฯ)
อุทิศส่วนกุศล (อิทังเมฯ)
1. กราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
2. นมัสการ (นะโม)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
3. ไตรสรณคมน์ (พุทธัง ธัมมัง สังฆัง)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉาม
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
4. พระพุทธคุณ (อิติปิ โส)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
5. พระธรรมคุณ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ *  (* อ่านว่า วิญญูฮีติ)
6. พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย* ปาหุเนยโย* ทักขิเณยโย* อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
(อ่านออกเสียง อาหุไนยโย ปาหุไนยโย ทักขิไณยโย โดยสระเอ กึ่งสระไอ)
7. พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง* วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ
* พรัหมัง อ่านว่า พรัมมัง
8. มหาการุณิโก
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง
ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะรา
ชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก
สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
สุนั ขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ
สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ** ** พรัหมะ อ่านว่า พรัมมะ
จาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ
กัตตะวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
หลังจากสวดมนต์ตั้งแต่ต้นจนจบบทพาหุงมาหากาฯ แล้วก็ให้สวดเฉพาะบทพระพุทธคุณ หรืออิติปิโส ให้ได้จำนวนจบเท่ากับอายุของตนเอง แล้วสวดเพิ่มไปอีกหนึ่งจบ ตัวอย่างเช่น ถ้าอายุ ๓๕ ปี ต้องสวด ๓๖ จบ จากนั้นจึงค่อยแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล
9. พุทธคุณเท่าอายุเกิน ๑ (อิติปิโสเท่าอายุ+๑)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
10. บทแผ่เมตตา
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กัน และกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
11. บทอุทิศส่วนกุศล (บทกรวดน้ำ)
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

 

พฤษภาคม 16, 2010 Posted by | Fw Mail: ลองเก็บไปคิด เพื่อชีวิตเป็นสุข | | ใส่ความเห็น